มีพระพุทธพจน์แห่งหนึ่ง
ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย
! จงเจริญสมาธิเถิด, ผู้มีจิตตั้งมั่น
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง”
พุทธพจน์นี้ แสดงทั้งความหมาย
(จิตตั้งมั่น) และประโยชน์ที่มุ่งหมายของสมาธิ
(รู้ชัดตามเป็นจริง)
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเป็นอย่างไร
? ทำให้รู้ชัดตามเป็นจริงได้อย่างไร
? ก็มีพุทธพจน์แสดงไว้อีกว่า
“ภิกษุทั้งหลาย
! เปรียบเทียบห้วงน้ำใส
กระจ่างไมุ่ขุ่นมัว
คนตาดียืนอยู่บนฝั่ง
พึงเห็นได้ซึ่งหอยโข่ง
หอยกาบ ก้อนหิน ก้อนกรวด
ตลอดจนฝูงปลา ที่กำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง
กำลังหยุดอยู่บ้าง …ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว
ก็จักรู้ได้ซึ่งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น
ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
จักประจักษ์แจ้งได้
ซึ่งคุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญ
คือ ญาณทัสสนะ ที่สามารถทำให้เป็นอริยชน…”
เมื่อจิตสงบแน่วเรียบสนิท
จะคิดพิจารณาสิ่งใด
? เรื่องใด ? ก็มองเห็นง่ายเข้าใจชัดเจน
เมื่อเข้าใจธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย
รู้เท่าทันธรรมดาของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
จิตใจก็หายเร่าร้อนกระวนกระวาย
สงบ ผ่องใส เป็นอิสระปลอดกิเลส
ไร้ทุกข์ เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต
ถึงแม้ยังไม่ใช้ปัญญา
เพียงแต่สมาธิอย่างเดียว
เกิดขึ้นเมื่อใดจิตใจก็สงบผ่องใส
มีความสุข ดับกิเลสดับทุกข์ได้ชั่วคราว
ตลอดเวลาที่สมาธินั้นยังคงอยู่
อย่างไรก็ตาม ถ้าปฏิบัติผิด
ก็มีทางเขวและเกิดโทษ
เช่นหลงเพลินติดอยู่แค่สมาธิ
พอใจในความสุขจากสมาธิ
คิดว่าเพียงพอแล้ว ไม่ใช้สมาธินั้นสร้างปัญญา
เพื่อแก้ปัญหาของชีวิตให้หมดสิ้นไป
บ้างก็มองเห็นสมาธิเป็นเรื่องของคนที่หลบลี้
ปลีกตัวออกไปจากสังคม
อย่างลัทธิฤาษีชีไพร
บ้างก็ตั้งความหวังผิดๆ
มุ่งจะเอาแต่ผลพลอยได้ของสมาธิ
หมกมุ่นในเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์
รวมความคือตกอยู่ในความประมาท
ชาวพุทธพึงเข้าใจ
ฝึก และใช้สมาธิให้ถูกต้องตามหลักการ
ความหมายและความมุ่งหมาย
ดังพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างข้างต้นนั้น
และหวังว่าหนังสือสมาธิเล่มน้อยนี้
จะมีส่วนช่วยนำให้เกิดผลที่กล่าวนั้น.
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.......................
“….สมาธิ เป็นเพียงวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมายไม่ใช่ตัวจุดหมาย
ผู้เริ่มปฏิบัติอาจต้องปลีกตัวออกไปมีความเกี่ยวข้องกับชีวิต
สังคมน้อยเป็นพิเศษ
เพื่อการปฏิบัติฝึกอบรมช่วงพิเศาระยะหนึ่ง
แล้วจึงออกมามีบทบาทในทางสังคม
ตามความเหมาะสมของตนต่อไป
อีกประการหนึ่ง
การเจริญสมาธิโดยทั่วไปก็มิใช่จะต้องมานั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน
และวิธีปฏิบัติก็มีมากมาย
เลือกใช้ได้ตาม ความเหมาะสมกับจริยา…”
จากหนังสือพุทธธรรม
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
...................................................................................................................................................
เนื้อหาทั้งหมดนี้คัดลอกจากหนังสือ
"สมาธิ"
ธรรมรักษา : เขียน
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) : ตรวจทานและแก้ไข