Home | Dhamma Subjects | Dhammatalk | Temple's Activity | last chance

American Buddhist Meditation Temple

Dhamma Subjects

Home

 
   วิธีดับทุกข์ เพราะ...พ่อ-แม่ 

           พ่อ-แม่ จัดว่าเป็น "ปูชนียบุคคล" ของลูกทุกคน พระพุทธเจ้า ทรงเทียบฐานะของพ่อแม่ เท่ากับเป็น "พระ" ของลูก แม้บวชอยู่บิณฑบาตมาเลี้ยง ก็ยังไม่มีโทษ แถมยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากพระพุทธองค์อีกด้วย

         ด้วยเหตุที่พ่อแม่ เป็นผู้มีพระคุณมากล้นเช่นนี้ ผู้ที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างถูกต้อง จึงมีแต่ "สิริมงคล" เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนดีโดยทั่วไป ในทางตรงกันข้าม

         ถ้าปฏิบัติกับพ่อแม่ไม่ถูกต้อง ก็ย่อมจะเกิด "อัปมงคล" หาความเจริญทางจิตใจมิได้ และจะได้รับกรรมอันนี้สนองในชาตินี้เป็นส่วนมาก กล่าวคือลูกของเรา ก็จะทำต่อเราเช่นนี้เหมือนกัน

         ดังนั้น ในฐานะลูกที่ดี จึงควรมีความกตัญญูและกตเวทีต่อพ่อแม่ของตน สนองคุณด้วยการเลี้ยงดูตามธรรม อย่าให้ท่านได้รับความทุกข์ทั้งกายและใจ และผลแห่งกุศลกรรมนี้ ก็ย่อมจะสนองเราทันตาเห็น เช่นเดียวกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

         วิธีดับทุกข์ เพราะพ่อแม่เป็นเหตุนี้ หมายเอาเฉพาะพ่อแม่ที่ขาดศีลและธรรม เป็นมิจฉาทิฐิ ตกเป็นทาสของสุรา การพนัน นารี หรืออบายมุขประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

          อันเป็นผลพวง ที่ลูก ๆ พลอยเดือดร้อนไปด้วย ลูก ๆ ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ จะต้อง "ทำใจ" ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตนให้สมกับเป็นลูกที่ดี อย่าได้เอา "น้ำเน่าไปล้างน้ำเปล่า" เป็นอันขาด มิฉะนั้นจะได้ชื่อว่า "ลูกอกตัญญู" หรือ "ลูกเนรคุณ" ไป จะมีแต่เสนียดจัญไร เมื่อตายก็ไปนรกแน่นอน

          หลักความจริงมีอยู่ว่า ในชาตินี้เราไม่อาจจะเลือกเกิดเป็นลูกของคนนั้นคนนี้ได้ เพราะมันได้เกิดมาเสียแล้ว แต่เราก็สามารถเลือกเกิดในอนาคตได้

          การที่ทุกคนได้เกิดมาแล้ว เป็นผลจากกรรมเก่า ที่เราได้ทำเอาไว้เองก่อน ส่งผลให้มาเกิดในฐานะเช่นนี้ เราจึงควรยินดี และพอใจในพ่อแม่ของตน แม้จะอยู่ในภาวะเช่นใดก็ตาม

         ถ้าเราไม่ยินดี ไม่พอใจต่อพ่อแม่ ผู้ให้กำเนิดเรา เราก็ไม่อาจจะเลือกได้ การไม่ยินดีไม่พอใจ จึงเป็นความทุกข์ประการหนึ่ง

          นอกจากนั้น การคิดนึกเช่นนี้ ย่อมจะเป็น "เชื้อ" ให้เกิด "อกตัญญู" และเมื่ออกตัญญูเกิด อกตเวทีและ "เนรคุณ" ก็อาจจะตามมาอีกด้วย จึงควรรีบกำจัดความคิดเช่นนี้เสียโดยเร็ว

         แม้ว่าพ่อแม่ จะเป็นคนแสนเลวประการใด โหดร้ายเพียงใด ก็จะต้องถือว่าเป็น "บุคคลต้องห้าม" สำหรับลูก ที่จะเข้าไปแตะต้องด้วย "อกุศลจิต" มิได้เลย

         ธรรมดาของที่มีคุณทุกชนิด ถ้าปฏิบัติถูกก็เกิดคุณอนันต์ ถ้าปฏิบัติผิดก็เกิดโทษมหันต์

         พ่อแม่เปรียบประดุจพระอรหันต์ของลูก เพราะรักลูกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ลูกที่มีสัมมาทิฐิ ต้องให้ความเคารพนับถือ เชื่อฟัง และตอบแทนคุณ ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะเกิดมลทินไปชั่วชีวิต

         การที่พ่อแม่ทำผิดทำชั่ว อันเป็นผลพวง ที่ตกมาถึงเรา ก็เป็นเพราะอกุศลกรรมของเรา ดลจิตให้ท่านทำเช่นนั้น เราอย่าได้เอาความชั่ว ไปตอบแทนพระคุณที่ท่านให้กำเนิดแก่เรา

         การที่เราได้มาเกิดเป็นลูกของท่าน ก็เป็นผลแห่งบาปกรรม ที่เราทำเอาไว้เองให้เป็นไป ถ้าเราไม่ต้องการมาเกิดเช่นนี้อีก ก็ควรเร่งทำความดีให้มากขึ้น ในชาติต่อไป เราก็ย่อมพ้นสภาพเช่นนี้

         มีสีกาคนหนึ่ง บ้านอยู่ห่างถ้ำสติ มาเที่ยวแล้วถามว่ามีพ่อขี้เหล้า มักด่าและตบตีเป็นประจำ ส่วนแม่ก็เอาแต่เล่นไพ่ เล่นได้ก็หน้าบานใจดี วันไหนเล่นเสีย ก็พาลด่าจนเข้าหน้าไม่ติด

         เขาได้แนะนำให้พ่อเลิกเหล้า ให้แม่เลิกเล่นไพ่ ก็ถูกด่าเปิง แถมจะลงมือลงไม้เอาด้วย หาว่าอวดดีมาสอนพ่อแม่ มึงเป็นลูกอย่าเสือกมาสอนกู กูไม่ดีก็เลี้ยงมึงมาไม่ได้ ขอให้หลวงตาช่วยแนะนำ จะทำอย่างไร พ่อแม่จึงจะเลิกอบายมุขได้ ? ได้ให้คำแนะนำเขาไปว่า

         การที่ลูกจะแนะนำพ่อแม่ได้ พ่อแม่นั้นจะต้องมีความนับถือหรือเกรงใจลูกอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว การสอนพ่อแม่ เป็นเรื่องทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะ

         พ่อแม่มีสำนึกอยู่ว่า "กูเป็นพ่อ กูเป็นแม่ กูอาบน้ำร้อนมาก่อน มีหน้าที่ต้องสอนลูก เลี้ยงลูก ลูกมีหน้าที่เชื่อฟัง และทำตามอย่างเดียว จะมาสอนพ่อแม่ไม่ได้ แม้พ่อแม่จะทำผิดทำชั่วก็ตาม"

         คำแนะนำของลูกที่ถูกต้อง จึงไม่มีน้ำหนักที่จะเรียกร้องให้ยอมรับฟังหรือทำตามได้ ยกเว้นแต่พ่อแม่ ที่มีสัมมาทิฐิ แต่ได้หลงผิดไปชั่วคราว อาจยอมรับและกลับตัวได้ง่าย

         ถ้าเป็นเช่นนี้ ทางปฏิบัติก็มีอยู่ ๒ ประการ คือ วางอุเบกขา ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของท่านเอง หรือ หาผู้ที่พ่อแม่เคารพนับถือ ช่วยแนะนำตักเตือนให้ อาจจะเลิกได้ถ้าหมดเวร ขอแต่ว่าให้เราพยายามทำหน้าที่ของลูก ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ถ้าท่านไม่รีบตายจากเราไปเสียก่อนหมดเวรกรรมท่านก็ต้องเลิกเอง

ทางแก้
         ๑. ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม ให้เห็นความจริงว่า ที่เรามาเกิดกับพ่อแม่ ที่ไม่ดีนั้น "เป็นผลของอกุศลกรรมของเราเอง" ถ้าไม่อยากมาเกิดกับพ่อแม่เช่นนี้ ก็ต้องเร่งทำความดีให้มาก ชาติหน้าก็ไม่มาพบกันอีก

         ๒. ต้องปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างลูกกับพ่อแม่ให้ถูกต้อง คือ มีความกตัญญูและกตเวที พยายามให้พ่อแม่มีศีลธรรมให้ได้ อย่าได้เอาความชั่ว ไปต่อความชั่ว มิฉะนั้นในชาติหน้า เราจะต้องไปเกิด และชดใช้บาปกรรมร่วมกันอีก

         ๓. การทำให้พ่อแม่ทุกข์กายและใจ บ่น ด่า ทุบตี หรือ ฆ่า เป็นการปิดทางสวรรค์และนิพพานของลูก พร้อมกันนั้นก็เปิดทางอบาย ทุคติ วินิบาต และนรกไว้รอด้วย

         ๔. การที่เราอยู่กับพ่อแม่ ที่ขี้บ่น หรือ ด่า นั้น ถ้าเจาะให้ลึกซึ้ง "ก้นบึ้งหัวใจ" ก็จะพบความจริงว่า เกิดจากความ "หวังดี" คืออยากให้ลูกดี

         ถ้าท่านไม่รักเราจริง ท่านจะบ่นจะด่าทำไม่ ? ให้มันเมื่อยปาก ? ปล่อยให้เรา "ขึ้นช้าง – ลงม้า"คอหักตายไป มิดีกว่าหรือ ?

          คำด่าของพ่อแม่ จึงเป็นพรอันประเสริฐ ที่ลูกควรรับฟัง และพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง คือ
           ก. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราไม่ผิดหรือไม่จริง ก็อย่าได้สวนขึ้นในขณะนั้น รอให้ท่านอารมณ์ดี แล้วค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังภายหลัง

           ข. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราเป็นฝ่ายผิด ก็ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงตน อย่าได้ทำเช่นนั้นอีก ท่านก็จะเลิกบ่นไปเอง

           ค. ถ้าท่านบ่นหรือด่า โดยหาสาระมิได้ ก็ควรสงบใจ วางอุเบกขาเสีย มันเป็นการระบายอารมณ์ ของคนที่มีภาระมาก และวางไม่ลง ได้บ่นหรือด่าใครนิดหน่อย อารมณ์ก็จะดีขึ้น เป็นธรรมดาของคนที่ห่างวัด ขาดธรรมะ จะต้องเป็น "เช่นนั้นเอง"

         ๕. คำบ่นหรือด่าของพ่อแม่ ไม่มีพิษภัยเท่ากับคำเยินยอของหนุ่มหรือสาว ถ้าเราทนได้ ปล่อยวางอุเบกขาได้ ก็เป็นการบำเพ็ญ "ขันติบารมี" ไปในตัว ควรหัดทำให้ได้.

..................................
เนื้อหาในส่วนวิธีดับความทุกข์ทั้งหมด
คัดลอกจากหนังสือ "บันทึกธรรม ฉบับดับทุกข์"
เรียบเรียงโดย "ธรรมรักษา" 

Dhamma Quotient ปฏิวัติแนวคิด คน...องค์กรสายพันธุ์ใหม่
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 ตุลาคม 2547 15:49 น.
        แค่ IQ กับ EQ ไม่พอเสียแล้วสำหรับยุค Hyper Competition
        ถ้าจะให้แข่งขันได้ แถมเพิ่มพลังความคิด ความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด ต้อง DQ (Dhamma Quotient) หรือ "สภาวะธรรม" แนวคิดที่คน...องค์กรสายพันธุ์ใหม่ในเมืองไทย และโลกตะวันตกพูดถึง และนำมาปฏิบัติกันแพร่หลายมากขึ้น
        ใครที่ไม่ต้องการจะถูกทิ้งไว้อยู่ข้างหลัง ท่ามกลาง Creative Economy ควรอย่างยิ่งที่ต้องเร่งศึกษา และนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ณ บัดนี้
       
        แค่ IQ กับ EQ ไม่พอเสียแล้วสำหรับยุค Hyper Competition
        ถ้าจะให้แข่งขันได้ แถมเพิ่มพลังความคิด ความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด ต้อง DQ (Dha mma Quotient) หรือ "สภาวะธรรม" แนวคิดที่คน...องค์กรสายพันธุ์ใหม่ในเมืองไทย และโลกตะวันตกพูดถึง และนำมาปฏิบัติกันแพร่หลายมากขึ้น
        ใครที่ไม่ต้องการจะถูกทิ้งไว้อยู่ข้างหลัง ท่ามกลาง Creative Economy ควรอย่างยิ่งที่ต้องเร่งศึกษา และนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ณ บัดนี้
        แม้วันนี้ DQ (Dhamma Quotient) จะยังเป็นเรื่องที่อธิบายยาก เพราะ DQ เป็นคลื่นหรือพลังงานบางอย่างที่จับต้องไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ แต่จะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้นเข้าไปปฏิบัติด้วย ตนเองแล้วเท่านั้น
        กระนั้นก็ตาม ความสนใจในเรื่อง "สภาวธรรม" โดยเฉพาะในเรื่องการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เริ่มเป็นที่สนใจและกล่าวขวัญกันมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ในบ้านเราเท่านั้น แต่โลกตะวันตกก็เริ่ม ให้ความสำคัญมากขึ้นแล้วเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากนิตยสาร "Times" ได้หยิบประเด็น "ศาสตร์ของสมาธิ" มานำเสนอเป็นประเด็นปก เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา
        ไม่เพียงเท่านั้น หนังสือธรรมะภาษาอังกฤษ Dhamma Moment ที่เพิ่งเปิดตัวที่งานหนังสือนานาชาติ แฟรงก์เฟิร์ต บุ๊กแฟร์ ที่จัดขึ้น เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ก็ได้รับความนิยม มีประเทศต่างๆขอซื้อลิขสิทธิ์ไปเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงกระแสความสนใจในเรื่อง "สภาวธรรม" ได้เป็นอย่างดี
       
       คนสายพันธุ์ใหม่...พลาดไม่ได้
        จากการที่โลกก้าวเข้าสู่ยุค Creative Economy ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนทุกคนต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กันมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ช่วงเวลานี้ เราจะได้ยินนักการตลาดหลาย คนพูดถึงคำว่า BreakThrough, Think out of the box และมีการจัดหลักสูตรอบรมให้คนคิด นอกกรอบกันมากขึ้น พร้อมๆกับการเข้าสู่ยุคความคิดสร้างสรรค์ ก็เป็นช่วงเดียวกันกับที่สังคมไทยเริ่มตระหนักว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค "สังคมอุดมปัญญา" (Knowledge Base Society) เรื่องราวทุกเรื่องราว ข้อมูลทุกอย่างในโลกสามารถสืบเสาะค้นหาได้ในชั่วพริบตาจาก การเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ผู้คนฉลาดขึ้น แม้การขูดต้นไม้ขอหวยจะยังไม่หายไปจากสังคมไทย แต่ในสังคมระดับบนซึ่งเป็นสังคมของ ผู้มีความรู้ ได้เริ่มศึกษา ทดสอบ และพิสูจน์ในสิ่งที่เคยเชื่อ ทำให้ DQ จึงเฟื่องฟู และได้รับความ นิยมมากขึ้น
        "ศาสนาพุทธในเยอรมนีเริ่มเฟื่องฟูมากขึ้น คนที่สนใจเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา ซึ่งมีประมาณแสนกว่าคน ตรงนี้ตรงกับบุคลิกของคน สายพันธุ์ใหม่ เป็นคนที่มีภูมิธรรม เป็นคนที่หลอกได้ยาก เพราะพร้อมที่จะเรียนรู้และพิสูจน์ กับตัวเอง เป็นคนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ คนที่มีภูมิธรรมสูงจะเป็นคนที่มีความคิด สร้างสรรค์สูง เริ่มคิดนอกกรอบมากขึ้น" ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มดีเค คอนซัลเทนส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"
       
       อยากคิดนอกกรอบ
       ทำอย่างนี้...ได้เลย

        หากเปรียบกายเป็นฮาร์ดแวร์ และจิตเป็นซอฟต์แวร์ ทุกวันนี้มนุษย์เราใช้จิต หรือเซลล์สมองของเราไม่เกิน 7% จากศักยภาพของสมอง ที่มีอยู่ทั้งหมด ขณะที่คนที่เป็นอัจฉริยะของโลก ใช้เซลล์สมองแค่ 8-10% เท่านั้น ดังนั้น หากมนุษย์เราสามารถนำเซลล์สมองที่ไม่ได้ใช้อีกเป็น จำนวนกว่า 90% มาใช้กับการทำงานของเรา ลองคิดดูว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความ คิดได้มากน้อยขนาดไหน
        เป็นความจริงที่ว่าเมื่อมนุษย์โตขึ้นสมองทั้งสองข้างทั้งที่เป็นเหตุผล และจินตนาการส่วน ใหญ่จะโตไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่สมองจะโตใน ส่วนที่เป็นเหตุผลเป็นผลมากกว่า ทั้งที่ตอนเด็กๆ อาจจะโตเท่ากัน ดังนั้น ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มพลังสมองในซีกจินตนาการขึ้นมาได้ ดนัย ให้แนวคิดว่า ต้องเจริญสติสัมปชัญญะ คือ ปล่อยให้ทุกอย่างรู้ตามความเป็นจริง โดยไม่ตั้งกรอบเอาไว้ แต่ต้องปล่อยจิตให้เป็นกระดาษเปล่า หรือ แก้วน้ำเปล่า เพื่อปล่อยความคิดให้ไหลในการสร้างสรรค์
       
       เครื่องมือล้วง
       Consumer insight

        ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาการแข่งขันในตลาด ยังไม่รุนแรงดังเช่นปัจจุบัน เนื่องจากความต้อง การของผู้บริโภคมีล้นเหลือ แต่มีสินค้าที่จะมา สนองความต้องการไม่มากนัก ขณะเดียวกันคู่แข่งในสินค้าประเภทเดียวกันก็ไม่ค่อยมีมากนัก ช่วงนี้ใครผลิตสินค้าอะไรออกมามักจะไม่มีปัญหาในเรื่องของการสร้างยอดขาย
        ผิดกับปัจจุบันตลาดบ้านเราเข้าสู่ยุคที่มีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น (Hyper Competi tion) เนื่องจากมีผู้ผลิตสินค้าพาเหรดเข้ามามากขึ้น สินค้าประเภทเดียวกันแต่มีผู้เล่นนับสิบ รายเป็นเรื่องยากหากจะผลิตสินค้าเพื่อตอบสนอง ผู้บริโภคกลุ่มแมส หลายสินค้าเกิดใหม่จึงหันไป เจาะตลาดที่เป็นเซกเม้นท์ หรือ niche market มากขึ้น หลายสินค้าจึงหันมาเน้นการสร้างแบรนด์ และหันมาสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้าทั้งด้วยการใช้นวัตกรรม และอารมณ์เพื่อสร้าง emo tional bonding ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค
        ทว่า แค่นั้นยังไม่พอสำหรับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งเยี่ยงปัจจุบัน
        หลายบริษัทจึงหันมาพูด หันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง consumer insight ซึ่งเป็นเรื่องความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิถีชีวิตของผู้บริโภคกันมาก เพราะในยุคการตลาดสมัยนี้หาก ใครไม่เข้าใจตลาดของตน ไม่เข้าใจลูกค้าของตน จะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมการตลาด หรือสร้าง ยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำ หรือแม้กระทั่งรักษาส่วนแบ่งตลาดที่เคยมีอยู่ได้อีกต่อไป เนื่อง จากไม่ว่านักการตลาดจะเพียรออกแคมเปญที่ "คิดเอาเอง" ว่าจะ "โดนใจ" ผู้บริโภค แต่เอาเข้าจริงกลับไม่ได้เฉียดเข้าไปใกล้กับความต้อง การอย่างแท้จริงของผู้บริโภคเลย สินค้าก็ไม่สามารถมัดใจผู้บริโภคได้
        ผลกระทบที่จะตามติดมาก็คือ เจ้าของสินค้าไม่สามารถสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีลูกค้าประจำที่จะกลายมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ หรือสาวกของสินค้านั้น เพราะหากสินค้าต้อง การก้าวถึงจุดนั้นได้ต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค อย้างถ่องแท้ แล้วถามว่าทำอย่างไรจึงจะเข้าใจผู้บริโภคได้อย่างถ่องแท้?
        คำตอบก็คือ คำว่า Consumer Insight แปลว่า เห็นลูกค้าตามความเป็นจริง เห็นวิถีชีวิต ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเดียวกับ DQ คือเห็นทุกอย่าง ตามความเป็นจริง โดยมีปัญญาที่จะเข้าไปเห็นความเป็นจริงตรงนั้น
        "บางครั้งเราทำอะไรบางอย่างไป เพราะอัตตาตัวตนของตนเอง แต่เราไม่ได้เห็นจริงว่าลูกค้าเป็นอย่างไร ทำอะไร คู่แข่งทำอะไร สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำอย่างไร"

       กระแส DQ
       กระแสโลก

        ความน่าสนใจของ DQ กำลังจะเริ่มเป็นที่สนใจไปทั่วโลก เมื่อปีที่แล้วมีนักวิทยาศาสตร์ของ อเมริกัน และเยอรมัน ได้คิดค้นเครื่องมือที่สามารถสแกนคลื่นสมองได้ ทั้งที่จริงๆแล้วคลื่น สมองของมนุษย์มีมานานพร้อมๆกับการเกิดขึ้น ของมนุษย์เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือใดๆ ที่สามารถสแกนคลื่นสมองได้
        สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองพบก็คือ เมื่อพวกเขานำคลื่นสมองของคนที่เจริญสติสัมป ชัญญะ ปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ มาเปรียบเทียบกันกับคนที่ไม่ได้ทำ ผลสุปออกมาว่า คนที่ไม่ปฏิบัติคลื่นสมองที่ส่งออกมาไม่เป็นระเบียบ ต่างจากคนปฏิบัติธรรมคลื่นสมองที่ส่งออกมาจะเป็น ระเบียบมากกว่า
        ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีผู้ศึกษาค้นคว้าใน เรื่องสมาธิกันพอสมควร ในปี 1967 เฮอร์เบิร์ท เบนสัน ศาสตราจารย์ประจำคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการทดลองเฝ้าดูผู้นั่งสมาธิจำนวน 36 คน เพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อุณหภูมิผิวหนัง พบว่าช่วงที่นั่งสมาธิพวกเขาใช้ออกซิเจนลดลง 17% มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง 3 ครั้งต่อนาที และมีอัตราคลื่นสมองเกิดขึ้นเช่นเดียวกับผู้กำลังนอนหลับ
        หลายปีต่อมา เกร็ก จาร์ค็อป ศาสตราจารย์ประจำภาพวิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ดเช่นกัน ได้ทำการทดลองโดยแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ทำสมาธิ กลุ่มที่ 2 ให้ฟังเทป จากการอ่านหนังสือที่ผ่อนคลาย ปรากฏว่าหลาย เดือนต่อมาพบว่ากลุ่มแรกมีคลื่นสมองที่เกิดขึ้น เหมือนกับช่วงเวลาที่นอนหลับ เนื่องจากการนั่งสมาธิจะไปลดการทำงานของสมองส่วนบนที่รับรู้ในเรื่องเวลาและสถานที่
        การศึกษาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิก้าวสู่มิติใหม่เมื่อปี 2543 เมื่อองค์ทไลลามะ ประมุขแห่ง ธิเบต ร่วมกับนักจิตวิทยา และนักประสาทวิทยา ของประเทศแถบตะวันตกกระตุ้นเชิญชวนให้บริหารชีวิตและจิตใจโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งผลจากการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำสมาธินี้ได้มีการพูดคุยกันในที่ประชุม MIT เพื่อวางแผน ทำวิจัยในระดับต่อไปอีกขึ้นของการทำสมาธิ
       
       องค์กรไทยกับ DQ
        ในช่วงเวลาไม่นานมานี้มีหลานบริษัทในไทย ที่หันมาให้ความสำคัญกับการนำแนวคิด DQ มาเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการบริหารคน และองค์กร ไม่ว่าจะเป็น แลนด์แอนด์เฮ้าส์, ดีแทค, เอ็มเค, เอ็มดีเค คอนซัลแทนส์, เบนซ์ทองหล่อ, ซีเอ็ด ยูเคชั่น, อมรินทร์ พริ้นต์ติ้ง เป็นต้น
        "มีนักการตลาดที่ประสบความสำเร็จหลายคน ไม่ว่าจะเป็น บัณฑูร ล่ำซำ, วสันต์ โพธิพิมพานนท์ และอีกหลายคนซึ่งเป็นคนที่มี DQ สูง และพยายามนำแนวคิดนี้มาเชื่อมใช้ในองค์กร แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อนี้ แต่ก็นำนโยบายธรรม การเจริญสติ ซึมซับเข้ามาใช้ในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ"
        ตัวอย่างเช่น กรณีเอ็มเคสุกี้ที่นำ DQ มาใช้ในการบริหารจัดการ และสร้างทีมเวิร์กในการ ทำงาน จากการที่ธุรกิจแห่งนี้ต้องสัมผัสกับผู้บริโภคในหลายรูปแบบ และหลายอารมณ์ บางครั้งลูกค้าอาจจะไม่สบอารมณ์และออกอาการโวยวายบ้าง แต่จากการที่พนักงานในร้านได้นำแนวคิด DQ มาใช้จึงทำให้พนักงานมีสติไม่ตอบ โต้ลูกค้า ซึ่งการณ์กลับกลายว่าเป็นการสร้าง emotional bonding ระหว่างแบรนด์เอ็มเคกับผู้บริโภคไปโดยปริยาย
       
       "ความสมดุล"
       ของเบนซ์กับสมาธิ

        เบนซ์ทองหล่อ คืออีกหนึ่งธุรกิจที่ใช้สมาธิเข้ามาผสมผสานกับแนวคิดใหม่ด้านการตลาดจนทำให้ประสบความสำเร็จ แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็น ดีลเลอร์ที่ไม่ใช่อันดับต้นๆเหมือนก่อนก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับกับเป็นความ "พอดี" ที่ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
        "ผมใช้ความพอดีมาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ คุณต้องฝึกสมาธิให้กับตัวเอง" วสันต์ โพธิพิมพานนท์ บิ๊กบอสแห่งค่ายเบนซ์ ทองหล่อ บอกถึง แนวคิดการใช้สมาธิเข้ามาบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ
        อดีตภาพการแข่งขันโดยรวมของธุรกิจเบนซ์ความเป็นผู้นำคือชัยชนะที่ทุกคนอยากได้ แน่นอนสิ่งที่ได้รับย่อมตามมาคือผลกำไรและชื่อเสียง แต่เบื้องหลังแห่งชัยชนะเหล่านี้ก็ทำให้เกิดศัตรูคู่แข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกับตัวเอง ซึ่งต้องเหนื่อยและทรมานตัวเองมากขึ้นเพื่อที่จะรักษาความเป็นแชมป์ให้ได้นานที่สุด
       ในอดีตการมุ่งแต่ทำงาน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีทั้งเงินทองมากมายแต่ขาดความสุข ทำ ให้วสันต์หยิบเอาแนวคิดใหม่กับการนั่งสมาธิเข้า มาปฏิบัติจนทุกวันนี้มีบทบาทกับตัวเขาและองค์กรมาก
        กรณีที่ซีอีโอแห่งค่ายเบนซ์ทองหล่อได้ฝึกและใช้สมาธิเข้ามาบริหารการจัดการนั้น ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวจึงถูกหยิบนำมาใช้เป็นกฎข้อบังคับบุคลากรทุกคนต้องไปฝึกเรียนการใช้สมาธิ ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าเป็นการบังคับ แต่ได้รับคำยืนยันว่าหลังจากที่ทุกคนกลับมาแล้วจะมีความ สุขและรู้จักใช้สติกันมากขึ้น
        "ปีหนึ่งเราใช้งบประมาณ 1 ล้านบาท เพื่อปิดโรงแรมหนึ่งครั้ง เพื่อให้นำพนักงานบางส่วน พร้อมกับลูกค้ารวมไปถึงเพื่อนๆและญาติไปฝึก สมาธิกัน โดยมีทีมวิทยากรคุณแม่ สิริ กรินชัย เป็นสตาฟคอยให้คำแนะนำดูแลเป็นเวลาถึง 7 วันทีเดียว" วสันต์ เล่าถึงการพัฒนาองค์กรของตนเอง พร้อมกับเสริมอีกว่า
        นอกจากนี้ตลอดทั้งปีจะมีการส่งพนักงานของเราไปอบรมการฝึกสมาธิฟรีที่ ยุวพุทธิกะสมาคม แถวฝั่งธนฯ โดยจะทยอยไปที่ละชุด ชุดหนึ่งจะใช้เวลาถึง 7 วันโดยไม่มีการหักเงินเดือน
        วสันต์กล่าวอีกว่า ก่อนไปฝึกอบรมพนักงาน บางคนก็ไม่ค่อยชอบเท่าไรนัก แต่หลังจากที่ได้รับการฝึกเรียนสมาธิกลับมาแล้วทำให้ทุกคนเกิด ความพอดี รู้จักใช้สติ มีความนิ่งกันมากขึ้น ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และการบริหารจัดการองค์กรจึงไปในทิศทางเดียวกัน
        "อย่างน้อยให้พนักงานได้รู้จักการฝึกสมาธิซึ่งจะทำให้เขารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ทุกวันนี้ถ้าเข้ามาในกลุ่มบริษัทของเราจะพบว่าพนักงาน เราทำอะไรจะสุขุมรอบคอบ และไม่เร่งรีบจนเกิด ความผิดพลาด"วสันต์ กล่าวอย่างมั่นใจกับบุคลากรที่ผ่านการฝึกสมาธิมาแล้ว
        ปัจจุบันค่ายเบนซ์ทองหล่อ ที่มีอยู่สามแห่ง คือ ทองหล่อ,วิทยุ และรามอินทรา มียอดขายรถ โดยปีหนึ่งๆ เฉพาะรถยนต์ขายได้ถึง 400 คัน และรถบรรทุกอีก 200 คัน จัดได้ว่ายัง อยู่ในอันดับกลางๆของดีลเลอร์ทั้งหมดในกรุงเทพฯ
        "ผมจะทำยอดให้เป็นอันดับหนึ่งก็ได้ แต่ว่าผมไม่ทำ"วสันต์ กล่าวและบอกถึงเหตุผลต่อว่า ถ้าต้องแข่งขันเพื่อเอาชนะทางธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเคยทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว หลังจากที่ได้นั่งสมาธิจึงได้รู้ว่าสิ่งที่ขาดหายไปคือความสมดุล
        การสร้างความสมดุลคือผลที่ได้รับจากการ นั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดความสุข วสันต์แจงเรื่องนี้ให้ฟังว่า สิ่งที่ตนได้รับตอนนี้คือ ความพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ และควรรักษาสิ่งที่เราเป็นให้ดีที่สุดก็พอแล้ว ผลที่ได้รับเมื่อนำไปใช้ปฏิบัติกับธุรกิจที่ทำอยู่ทำให้ทุกวันนี้ วสันต์มีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น โดยคนภายนอกจะมองไม่ออก แต่จิตใจเขานั้นเปลี่ยนแปลงไปมากเป็นคนใจ เย็นขึ้นเยอะ
        "ธุรกิจที่ทำอยู่เราจะใช้ความสมดุลเข้ามา บริหารการจัดการ ไม่รู้สึกอิจฉาคู่แข่งที่ทำธุรกิจนำหน้าเรา โดยจะใช้ปัญญามองและคิดอยู่ตลอด ว่าเราควรจะอยู่ที่จุดพอดี ไม่มากไม่น้อยก็พอแล้ว"วสันต์กล่าวถึงแนวคิดในการบริหารองค์กร พร้อมกับบอกอีกว่า ยังมีนักธุรกิจอีกหลายคนก็มีการใช้สมาธิเข้ามาใช้เหมือนกันเพียง แต่ว่าไม่อยากเปิดเผย
        การอธิบายเพื่อให้เห็นภาพของการผสมผสานระหว่างธุรกิจกับสมาธิ ยังคงไม่ชัดเจนมาก นัก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องฝึกและปฏิบัติด้วยตนเองถึงจะสามารถตอบได้ ดังนั้นการนำเสนอวิธีรวมถึงแนวคิดจึงเป็นของแต่ละบุคคลเท่านั้นวสันต์ ได้นำธรรมมะเข้ามาใช้ในการบริหาร งาน ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันปี ซึ่งพนักงานทั้ง 3 สาขา จำนวน 200 คน ล้วนผ่านการโครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาแล้วทั้งสิ้น
        ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา วสันต์ได้เริ่มนำธรรมะเข้ามาใช้ในการบริหารงานภาย ในองค์กร โดยตั้งกฎเกณฑ์ว่า พนักงานใหม่ทุกๆ คน ทุกระดับชั้น ทุกหน่วยงานตั้งแต่พนักงานส่วนออฟฟิศ ไปจนกระทั่งช่างซ่อมในศูนย์บริการ ของเบนซ์ทองหล่อ จะต้องผ่านโครงการอบรม วิปัสสนากรรมฐานที่ทางบริษัทได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-14 ธันวาคมของทุกปี หากพนักงานคนไหนไม่ได้ผ่านคอร์สการอบรมฯ ก็จะเปรียบเสมือนว่า เป็นพนักงานของเบนซ์ทองหล่อที่ไม่ผ่านการทดลองงาน
        จากนั้น 3-4 ปีต่อมา จึงเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น มีการปรับระบบใหม่ ส่งพนักงานที่เข้ามาทำงานใหม่ ให้หมุนเวียนกันเข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐานกับธรรมะสถานในที่ต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลา เพื่อเข้าอบรมกับโครง การของบริษัทซึ่งจัดในช่วงสิ้นปี
        ในมุมมองของพนักงานเบนซ์ทองหล่อคนหนึ่ง ที่ได้ผ่านคอร์สการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่ทางบริษัทจัดขึ้นมานั้น เล่าว่า
        "แต่ละคนมีปัญหา มีวิถีชีวิต และสติปัญญาในการซึมซับธรรมะ ต่างกัน ทำให้บางครั้งอาจจะมีพนักงานที่เกเร ไม่ผ่านการอบรมธรรมะ ต้องเข้าฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน รอบที่ 2" นั่นเป็นตัวอย่างชัดเจน และสื่อให้เห็นว่า เบนซ์ทองหล่อให้ความสำคัญกับการนำธรรมะมา ใช้ขัดเกลาในการทำงาน และส่งผลต่อการทำงาน ของพนักงานให้มีการทำงาน ในระดับที่ดีขึ้นได้จริงๆ
        จุดนี้เอง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ประธานกรรมการ บริษัทกลุ่มเบนซ์ทองหล่อ ให้ความสำคัญในเรื่อง "ธรรมะ" มากขึ้น ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ภายในองค์กรเท่านั้น เพราะปีๆนึง "วสันต์"ได้การวางงบประมาณหนึ่งล้านบาท เพื่อนำมาจัดโครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐานของทางกลุ่มเบนซ์ทองหล่อ ปีละ 1 ครั้ง ให้กับลูกค้าหรือประชาชนทั่วไป ที่สนใจเข้าอบรมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในระยะแรกคนที่สนใจเข้าอบรมฯ มีเพียงคนใกล้ตัว และขยายวงกว้างไปเป็นลูกค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ระดับผู้บริหาร และประชาชนทั่วไปปีละจำนวน 100 คนในปัจจุบัน
       
       กรณีอมรินทร์พริ้นติ้ง
        ครอบครัว "อุทกะพันธุ์" เจ้าของสำนักพิมพ์อมรินทร์ ร้านหนังสือนายอินทร์ และธุรกิจ อื่นๆอีกมากมาย เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้ศีล สมาธิ ทำให้เกิดปัญญาในการบริหารครอบ ครัวและองค์กร
        แม้วันนี้ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้บุกเบิกอาณาจักรสิ่งพิมพ์ที่ยิ่งใหญ่จะล่วงลับไป แต่ปรัชญาในการดำเนินชีวิตของเขาไม่ได้สิ้นสุดลง เมตตา ผู้เป็นภรรยา และ ระริน กับ ระพี ทายาทของตระกูลยังคงดำเนินตามรอยแห่งศีลธรรมที่ผู้เป็นพ่อแม่ได้อบรมสั่งสอนมา ทุกวันนี้ผู้เป็นแม่ ก็ยังคงพาลูกๆไปนั่งสมาธิ
        ระพี บุตรชายคนเล็กวัย 26 ปี เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่าเขาไปนั่งสมาธิกับแม่ทุกสัปดาห์ซึ่งทำให้เขารู้จักตั้งสติ คิดทบทวน ความสงบทำให้เขาตัดความสับสนวุ่นวายออกไปจากสมองจึงมีสติในการวางแผนและแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ
        "บางทีคิดอะไรไม่ค่อยออกก็ไปนั่งสมาธิ ฟังพระเทศน์ ก็จะค้นพบอะไรบางอย่างทำให้เรา ตั้งสติได้ แต่ถ้าเราไปหมกมุ่นกับอะไรมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นทุกข์"
        ทุกวันนี้แม่ลูกตระกูล "อุทกะพันธุ์" มีบท บาทในแวดวงสังคมไม่น้อยโดยเฉพาะเรื่องของการคืนกำไรให้กับสังคมมีการบริจาคให้กับมูลนิธิ ต่างๆ แม้ไม่ได้ต้องการชื่อเสียงเวลาทำบุญ แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นที่รับรู้ของสาธารณชนจนเกิดภาพ ลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร เหมือนกับการทำ Social Campaign ของบริษัทฝรั่งที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและให้ผู้บริโภคยอมรับ
       
       
       ก่อนจะมาเป็น DQ
        หลายสิบปีที่ผ่านมาหลายคนคงคุ้นกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาวัดว่าคนนี้ คนนั้น มีความสามารถในการเรียนรู้ หรือมีสติปัญญาฉลาด หรือโง่ขนาดไหน
        แต่ท่ามกลางความสับสนของโลกที่วุ่นวาย และตึงเครียด เอาเข้าจริงคนที่ IQ สูงกลับไม่สามารถดำรงชีพในโลก ในสังคมอย่าง มีความสุขหากเทียบกับคนที่มี IQ ต่ำกว่า ที่ผ่านมาเราอาจเคยเห็นข่าวคนที่เรียนหมอ จบดอกเตอร์ประกอบอาชญากรรม หรือทำอัต วินิบาตกรรมตัวเองกันมากมาย ทำไมคนที่มีระดับสติปัญญาสูงจึงไม่สามารถใช้วิจารณญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแก้ไขปัญหาชีวิต หรือหาทางออกดีๆ ให้กับชีวิตของเขาได้
        จากความสงสัยในเรื่องนี้ทำให้มีการศึกษาในเรื่อง EQ (Emotional Quotient) ออกมาเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว ซึ่ง EQ เป็นเรื่อง ของความมั่นคง หรือความฉลาดทางอารมณ์ เพราะคนที่จะมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องมีความฉลาด และความมั่นคงด้านอารมณ์ ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่อง EQ ทุกคนมีเหมือนกันหมดแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น และ EQ นี้เองที่เริ่มมีหลักทางพุทธเข้ามาเกี่ยว ข้องค่อนข้างมาก
        "คนเราหากเป็นคนที่รู้จักมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กับสถานการณ์รอบข้างได้ดี คนๆ นั้นจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีความสุข เพราะสิ่งที่สำคัญคือเราไม่สามารถเลือกว่าจะมีสิ่งใดมากระทบกับตัวเราบ้าง คือ เราไม่สามารถเลือกสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมได้ตลอด แต่สามารถเลือกได้ว่าจะมีปฏิกิริยาตอบรับได้อย่างไร นี่คือแนวคิดของ EQ"
        สำหรับแนวคิด DQ (Dhamma Quotient) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มดีเค คอนซัลแทนส์ (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ยังเป็นนักเขียนและนักประชาสัมพันธ์ที่ศึกษา และสนใจเรื่องธรรมะมานาน ได้อธิบายถึงที่มาของแนวคิดนี้ว่า คำว่า DQ เกิดจากการที่ไปปฏิบัติธรรมมากๆแล้วเข้าใจว่า สภาวธรรม คือการมีปัญญา ซึ่งไม่ใช่ปัญญาทางโลก แต่เป็นปัญญาที่พระพุทธเจ้าอยากให้มี เป็นปัญญาที่จะรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง
        "ที่ต้องมีคำว่า DQ เพิ่มขึ้นมาก็เพราะ DQ เป็นปัญญาที่พระพุทธเจ้าอยากให้มี ซึ่งที่จริงแล้วเป็นของสากล ไม่ว่าคนชาติไหนจะมี DQ ด้วยกันทั้งนั้น แต่จะต่างระดับกัน โดย DQ จะเป็นตัวที่ผสมขึ้นมาจาก IQ-EQ และ AQ (Adversity Quotient สภาวการณ์ที่จะรับมือกับการผกผัน วิกฤต การผจญภัย เพราะเราอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงไม่แน่ไม่นอน)
        DQ จะเป็นปัญญาที่สามารถมองเห็นทุก อย่างได้ตามความเป็นจริง มองด้วยสติสัมป ชัญญะ ใครก็ตามที่มีคุณสมบัติตรงนี้สามารถ มีการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะในแง่ของการตัดสินใจนั้นไม่ได้นำอารมณ์ อคติ ประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งไม่ได้เป็นปัญญาที่ แท้จริง แต่เป็นปัญญาระดับเบื้องต้นที่ไม่สามารถแน่ใจว่า การตัดสินใจนั้นถูกต้องแม่น ยำขนาดไหน"
       
       
       
       วิธีสร้าง DQ
        มีหลักในการสร้าง และพัฒนา DQ (Dhamma Quotient) ให้เกิดขึ้นกับบุคคล ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ตรงทางมากก็คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยแนวทางการเจริญสติแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนว ทางแรก สมถะกรรมฐาน ทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น แต่แนวทางนี้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา เพียงแต่จะมีความสุขระหว่างที่มีสมาธิ
        แนวทางที่สอง วิปัสสนากรรมฐาน คือ รู้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง หลักการง่าย ที่สุด คือ เป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้สังเกต ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเป็นผู้แสดงเองจึงทำให้ไม่เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง ดังนั้น จึงต้องดึงตัว "สติ" ออกมาเป็น coach ในทุกสถานการณ์ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเรา
        "การเอาตัวไปเป็นผู้เล่น มันเป็นเกมการ แข่งขันที่ไม่มีชั้นเชิง เพราะเราไม่มีคนมาวางกลยุทธ์ให้ เป็นการทำงานไปใช้ชีวิตไป โดยใช้ nature reaction ดังนั้น การที่ดึงตัวเองออก มาเป็น coach ก็คือบทบาทของการเจริญ DQ" ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าว

Enter content here


Enter supporting content here